ใบเนียมหอม: Niam Hom ชื่อวิทยาศาสตร์: Strobilanthes tonkinensis Lindau ชื่อวงศ์: ACANTHACEAE ชื่ออื่น ๆ : เนียมอ้น เนียมสวน อ้ม และ เนียม ลักษณะของใบเนียมหอม ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ปลายใบเรียวแหลมหรือมนก็มี โคนใบสอบ ส่วนขอบใบจักเป็นซี่ ๆ ทู่ ๆ แผ่นใบเป็นสีเขียว ผิวใบเป็นปุ่ม ๆ ก้านใบยาวประมาณ 0.5 นิ้ว เมื่อนำใบเนียมหอม: Niam Hom มาสกัดโดยการนำไปแช่ในแอลกอฮอลบริสุทธิ์ 95% – 99% จะให้กลิ่นกรุ่นหอมหวนยวนใจ หวาน ละมุน เป็นกลิ่นที่ลึกล้ำเฉพาะตัว หอมสุภาพ นุ่มนวล ดูดดื่ม และสามารถคงความหอมได้ยาวนาน กลิ่นใบเนียมหอมจะไม่เหม็นเขียวเหมือนกลิ่นที่ได้จากใบเตย และกลิ่นที่สกัดจากใบเนียมสามารถนำมาใช้เป็นกลิ่นนำ (Open Note) กลิ่นหลัก (Base Note) กลิ่นกลาง (Middle Note) และกลิ่นปลาย (Top Note) ได้ดี
LAB Parfumo พบว่า คุณสมบัติของ ใบเนียมหอม: Niam Hom ให้กลิ่นที่มีความโดดเด่น มีความหอม เจือความหวานที่ลงตัว ซึ่งนอกจะนำเป็นกลิ่นหลัก (Base) ในเครื่องหอมไทย อย่างเช่น น้ำปรุงได้ดีแล้ว ยังสามารถนำไปใช้เป็นส่วนประกอบในน้ำหอมแบบสากลได้ดีอีกด้วย เช่น ใบเนียมหอม: Niam Hom เข้ากันได้ดีกับ Vanilla ทำให้ความหวานของวนิลาไม่หวานเลี่ยน ช่วยชูกลิ่นความหอมหวานในตระกูลไม้หอมอย่าง Sandalwood ลดกลิ่นฝาดออกเขียวของ Agarwood ฯลฯ ทั้งนี้ผู้นำไปใช้ต้องอาศัยความความรู้ ความเข้าใจในเรื่องความเข้มข้น สัดส่วน ปริมาตร และ องค์ประกอบของกลิ่นอื่น ๆ ที่จะนำมาใช้ร่วมกันเมื่อจะทำการปรุงน้ำหอม
LAB PARFUMO ทำการศึกษาวิจัยกลิ่น และคุณสมบัติของพืชพรรณ ว่าน ดอกไม้ไทย โดยการตั้งสมมุติฐาน และค้าหาข้อดีและข้อเสียของ “น้ำปรุง” แล้วจึงปรับปรุง แก้ไขให้กลิ่นของน้ำปรุงที่สร้างขึ้นมา มีความหอมฟุ้ง แซมความหวาน มีความเย็นที่พอเหมาะดั่งน้ำหอมแบบสากล แต่ยังคงความหอมในเอกลักษณ์แบบไทยๆ ซึ่งทำให้ผู้ใช้เกิดความอภิรมย์และพึงพอใจ
กลิ่นเสียดแทงจมูก เกิดจากการใช้พิมเสนในปริมาณที่มากเกินไป
กลิ่นเหม็นเขียว เกิดจากการใช้ดอกไม้ และพรรณไม้บางชนิด ที่ไม่มีความเข้ากัน
กลิ่นที่มีความวังเวง หรือ หลอน เกิดจากการใช้ปริมาณดอกไม้บางชนิดมากเกินไป
สีที่มีความเขียวช้ำ ไม่สดใส เกิดจากการใส่น้ำมันหอมที่มีสีเข้มลงไป
ด้วยข้อมูลข้อดีและข้อเสียเหล่านี้ LAB PARFUMO จึงปรับแต่ง และกำหนดปริมาตร ความหนักเบา ของกลิ่นหลัก และกลิ่นรอง ของดอกไม้ ของหอม เครื่องมงคล และน้ำมันหอม และทำการทดสอบ ตัวอย่าง ซึ่งใช้เวลาวิจัยมากกว่า 3 เดือน เมื่อได้สูตรที่มีกลิ่นหอม และมีความเสถียรแล้ว จึงทำการผลิตและทำการหมักตามระยะเวลาที่ถูกกำหนดจากสูตร
ดอกไม้ ของหอม เครื่องมงคล และน้ำมันหอมที่นำมาใช้ผลิต น้ำปรุงพรหมประสิทธิ์มีรายการดังต่อไปนี้
-น้ำมันพรหมประสิทธิ์(น้ำมันศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อ สายวัดตาก้อง)
-น้ำมันโพธิ์ใต้แม่ (น้ำมันศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อ สายอาจารย์เที่ยง น่วมนามา)
-น้ำมันหนูกับแมว (น้ำมันศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อ สายท่านอาจารย์ชุม ไชยคีรี)
-น้ำมันโสฬสมหาว่าน (น้ำมันศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อ สายท่านอาจารย์ชุม ไชยคีรี)
-น้ำสกัดจากใบเนียม
-น้ำที่ได้จากกลิ่นดอกจันกะพ้อ
-น้ำที่ได้จากกลิ่นดอกลำเจียก
-น้ำที่ได้จากกลิ่นดอกลีลาวดี
-น้ำที่ได้จากกลิ่นดอกซ่อนกลิ่น
-น้ำที่ได้จากกลิ่นดอกกระดังงา
-น้ำที่ได้จากกลิ่นดอกมะลิสด
-น้ำที่ได้จากกลิ่นดอกกุหลาบ
-น้ำที่ได้จากกลิ่นดอกไฮยาซิน
-น้ำที่ได้จากกลิ่นดอกลีลาวดี
-น้ำที่ได้จากกลิ่นดอกซ่อนกลิ่น
-น้ำที่ได้จากกลิ่นชมนาด
-น้ำที่ได้จากกลิ่นดอกราตรี
-น้ำที่ได้จากใบเตย
-น้ำมันสกัดจากเปลือกมะกรูดเขียว
-น้ำมันจากไม้กฤษณา
-น้ำมันจากไม้จันทร์หอม
-น้ำมันสกัดจากดอกส้ม
-น้ำมันสกัดจากส้มขม
-น้ำมันสกัดจากเปลือกส้มโอ
-พิมเสน
-ชะมดเช็ด
-อัมพันปลาวาฬ
และอื่นสารประกอบสำคัญอื่น ๆ
น้ำปรุงพรหมประสิทธิ์ น้ำปรุงที่สามารถนำใช้ได้ทุกวัน ทุกโอกาสเหมือนกับน้ำหอมสากล คือ ความสำเร็จและความภาคภูมิใจ ของ LAB Parfumo (หรือใช้สำหรับฉีดบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พระ เทพเจ้า)
นอกจากการวิวัฒน์น้ำปรุงจากตำหรับเครื่องหอมไทย Lab Parfumo ยังนำกลิ่นจากใบเนียมหอม มาใช้ปรุงกลิ่นน้ำหอมในแบบสากลหลากหลายกลิ่น โดยเฉพาะ Victory Eau de Parfum ซึ่งถูกสร้างขึ้นจากกลิ่นใบเนียมหอมเป็นหลัก (Base) เพื่อเป็นการยกระดับการทำเครื่องหอมไทยให้เผยแพร่สู่สากล
รีวิว
ยังไม่มีบทวิจารณ์